Skip to content

หลักสูตรวิทยาลัยอุตสาหกรรมสร้างสรรค์

หลักสูตรในปีการศึกษา 2566

หลักสูตรปริญญาตรี

หลักสูตรอัญมณีและเครื่องประดับ เน้นสร้างผู้ประกอบการในอุตสาหกรรม ผ่านการเรียนรู้ในสภาพแวดล้อมของสถานประกอบการคิดค้น และประยุกต์ใช้นวัตกรรมวัสดุที่จะช่วยเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์ ผสานองค์ความรู้วิทยาศาสตร์ และ ศิลปะ รวมถึงกระบวนการทางการตลาดยุคดิจิทัล เพื่อศักยภาพการแข่งขันในตลาดแห่งอนาคต

สมัครเรียน

หลักสูตร แฟชั่น สิ่งทอ และเครื่องตกแต่ง สร้างขึ้นบนพื้นฐานความต้องการของอุตสาหกรรมแฟชั่นไทย โดยประสบการณ์อันยาวนานของคณาจารย์ประจำหลักสูตร เน้นผลิตผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมแฟชั่น ที่สามารถบูรณาการองค์ความรู้ทางด้านศิลปะการออกแบบ วิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และการจัดการ พัฒนา นวัตกรรมที่มีพื้นฐานจากภูมิปัญญาดั้งเดิม เพิ่มมูลค่า ของผลิตภัณฑ์แฟชั่น จนถึงตราสินค้า อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อก้าวสู่ตลาดนานาชาติอย่างยั่งยืน

สมัครเรียน

หลักสูตรผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์ เป็นหลักสูตรที่ผลิตผู้ ประกอบการด้านธุรกิจผลิตภัณฑ์ นักวางกลยุทธ์ด้าน ผลิตภัณฑ์ และนักออกแบบผลิตภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์ เฟอร์นิเจอร์ และของตกแต่งบ้าน ที่มีแนวคิดเชิงสร้างสรรค์ เน้นการเรียนภาคปฏิบัติร่วมกับอาจารย์ที่มากประสบการณ์ นักออกแบบมืออาชีพ และผู้ประกอบการจากองค์กรชั้นนำ โดยการจัดการเรียนการสอนด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ให้สอดคล้องกับนโยบายอุตสาหกรรม 4.0 ในเรื่องของการนำนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ได้

สมัครเรียน

รัฐบาลมีนโนบายอย่างชัดเจนที่จะปรับโครงสร้างประเทศให้ก้าวสู่ยุค 4.0 ภายใน 3-5 ปีนับจากนี้ หลักการสำคัญของการปฏิรูปประเทศไทยไปสู่ยุค 4.0 คือการปรับเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจไปสู่ “Value-Based Economy” หรือเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งรวมถึงการเปลี่ยนการผลิตสินค้าโภคภัณฑ์ไปสู่การผลิตสินค้าเชิงนวัตกรรม และการขับเคลื่อนประเทศด้วยอุตสาหกรรมไปสู่การขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี ความคิดสร้างสรรค์ และนวัตกรรม เน้นภาคการผลิตสินค้าและภาคบริการมากขึ้น

สมัครเรียน

สร้างแบรนด์อย่างไรไม่ให้น่าเบื่อ หลักสูตร Creative Brand Management หลักสูตรเดียวในประเทศไทย ที่จะช่วยเพิ่มคุณค่าให้ผลิตภัณฑ์และบริการอย่างสร้างสรรค์ เหมาะสำหรับธุรกิจ SMEs, Startups และคนรุ่นใหม่อยากพัฒนาแบรนด์ด้วยนวัตกรรมและความคิดต่อยอด

สมัครเรียน

หลักสูตรมีความร่วมมือกับสถาบันการศึกษาหรือหน่วยงานอื่นๆ โดยสำนักงานสภานโยบายอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรมแห่งชาติ ได้ให้สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ โปรแกรมสนับสนุนการ พัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม (ITAP) ได้จัดทำโครงการที่สอดคล้องกับประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง แนวทางความตกลงร่วมมือทางวิชาการระหว่างสถาบันอุดมศึกษาไทยกับสถาบันอุดมศึกษาต่างประเทศ พ.ศ. 2550 โดยได้จัดทำ HiFi consortium เพื่อดำเนินการกับสถาบันร่วม ในปี 2563 ซึ่งมหาวิทยาลัยต่างๆ ร่วมกันพัฒนาบุคลากรระดับบัณฑิตศึกษาในสาขาวิชาต่างๆ โดยได้รับความร่วมมือจากภาคอุตสาหกรรมให้ร่วมผลิตนิสิตเข้าเรียนและปฏิบัติงานในสถานประกอบการจริงตลอดระยะเวลา 2 ปี พร้อมพัฒนานวัตกรรมและวิจัยร่วมกับบริษัทปีละ 1 โครงการกับ นิสิต 1 คน

สมัครเรียน